Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


 
บ้านบ้าน  ค้นหาค้นหา  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 นิสิตใหม่วัยรุ่น

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
madoo_som205
เด็กขยันโพส
เด็กขยันโพส
madoo_som205


จำนวนข้อความ : 35
Join date : 10/05/2010

นิสิตใหม่วัยรุ่น Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: นิสิตใหม่วัยรุ่น   นิสิตใหม่วัยรุ่น EmptyThu May 13, 2010 3:48 pm

เมื่อผลสอบ Admission ประกาศออกมา ผู้ปกครองที่ลูกหลานสามารถสอบเข้าได้ก็คงปลาบปลื้มดีอกดีใจไปตามๆกันนะคะ วัยรุ่นเองก็คงตื่นเต้นกับการเตรียมตัวเป็นน้องใหม่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ปรับตัวได้ดี คลุกคลีและเข้ากับเพื่อนๆในสังคมเดียวกันได้ ไม่ทุกข์ร้อนอะไรมากมายนัก แม้บางคนจะมีอายุค่อนข้างน้อย เพราะมาจากการสอบเทียบขณะเรียนอยู่มัธยม 4 หรือ 5 นั่นนะค่ะ
แต่จะมีน้องใหม่วัยรุ่นจำนวนไม่น้อย ที่อึดอัดใจกับสภาพสังคมชีวิตในมหาวิทยาลัยมาก หลายคนถึงกับหมดความกระตือรือร้น วิกตกังวลกับการเรียน การสอบหรือมีปัญหากับเพื่อนๆมากจนตั้งตัวไม่ติด สอบพลาดถึงกับถูกรีไทร์ต้องออกจากมหาวิทยาลัยไปเลย
คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรชะล่าใจนัก ควรต้องคอยสังเกตดูว่า ลูกวัยรุ่นของเราจะปรับตัวในสภาพนิสิตนักศึกษาได้หรือไม่ แม้เขาจะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้วทางร่างกาย แต่เขายังขาดประสบการณ์ การปรับตัวกับสภาพการเรียนในมหาวิทยาลัย ที่ให้อิสระมากมายกว่าสมัยเรียนมัธยม อาจทำให้เขาหลงระเริงเสียจนเสียการเรียน กว่าจะรู้ผลว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับลูกของเรา ก็ถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัยเสียแล้ว เป็นการสายเกินไปก่อนที่จะได้ช่วยเหลือแก้ไขอะไร
คุณพ่อคุณแม่ก็ลองอ่านดูว่าวัยรุ่นที่ปรับตัวไม่ได้ในมหาวิทยาลัย จะมีอาการอย่างไรบ้าง มีตั้งแต่พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
เช่น แยกตัว ซึม พูดคุยน้อยลง เหม่อๆ ถามคำตอบคำ ขังตัวเองอยู่แต่ในห้อง ฟังแต่เพลง ไม่อยากพบพูดคุยกับใคร ขาดเรียนบ่อยๆ อาจอ้างว่ามหาวิทยาลัยหยุดเรียนหรืออาจารย์ไม่สอน เอาแต่นั่งเล่นนอนเล่นอยู่ที่บ้าน หรือติดวีดีโอเกมส์ เล่นตลอดเวลาเลยตื่นสาย ไม่ยอมไปเรียน
ทำแต่กิจกรรมของมหาวิทยาลัย ไม่สนใจการเรียน หรือตรงกันข้าม บ้าเรียนขนาดหนัก ดูหนังสือตลอดเวลา ไม่ยอมหยุดพักผ่อน เพราะกลัวดูหนังสือไม่ทันแต่ดูเท่าไหร่ก็ไม่จำ
อารมณ์เปลี่ยนแปลง
เช่น รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ ไม่อยากจับหนังสือเลย ไม่มีสมาธิ อ่านเท่าไหร่ก็ไม่จำ หงุดหงิด ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด ถ้าคุณพ่อคุณแม่พยายามชวนคุยถามเรื่องเรียนก็ตะคอกใส่ คุณพ่อคุณแม่เลยต้องอยู่ในโอวาท ทำตัวเงียบๆเสียเอง วัยรุ่นหญิงรายหนึ่งถึงกับตบหน้าเพื่อนชายนักเรียนร่วมห้องเมื่อถูกพูดแซว ล้อเลียนเรื่องเล็กๆน้อยๆ เลยถูกชกกลับจนริมฝีปากแตก ขี้ใจน้อย ร้องไห้ง่าย ทำการบ้านไม่ได้ก็ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ต้องร้องกรี๊ดๆลั่นบ้าน
บ่นน้อยใจเพื่อน รู้สึกผิดหวังกับเพื่อนใหม่ เข้ากับเพื่อนใหม่ไม่ได้ รู้สึกว่าเขาเห็นแก่ตัว ไม่จริงใจ สู้เพื่อนเก่าสมัยมัธยมไม่ได้ ผิดหวังที่เพื่อนเก่าที่เคยสนิทตั้งแต่อยู่มัธยม กลับทำท่าแยกไปมีเพื่อนใหม่ รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว
ความคิดผิดปกติ
เช่น หลงผิดคิดว่าเป็นผู้วิเศษ เป็นศาสดาหรือผู้มีอำนาจพิเศษ อาจรุนแรงถึงขั้นหลงผิดหวาดระแวง คิดแปลกๆ เพี้ยนไม่มีมูลความจริง ฯลฯ ไม่เพียงแต่นิสิตใหม่ที่ต้องปรับตัวเมื่อเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้นนะคะ นักเรียนเก่าที่ยังตกค้างอยู่ในโรงเรียนเดิม อาจจะไม่ได้ไปสอบเอ็นทรานซ์หรือสอบไม่ติด นักเรียนกลุ่มนี้ก็ต้องเผชิญกับการปรับตัวด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะนักเรียนที่สอบพลาด เอ็นไม่ติดบางคนรู้สึกผิดหวังเสียใจมาก ขาดความมั่นใจในตนเองไปเลย คิดเป็นปมด้อยไปอีกนาน หรือนักเรียนที่ยังต้องเรียนมัธยมปลายเช่นเดิม จำนวนนักเรียนในชั้นก็จะลดน้อยลงไปมากจนทำให้บางคนอดใจหาย ว้าเหว่ คิดถึงเพื่อนสนิทที่เขาล้ำหน้าเข้ามหาวิทยาลัยไปแล้ว ปัญหาอาจเกิดขึ้นถ้าเขาปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อนที่ยังตกค้างอยู่ด้วยกัน ไม่ได้ เพราะไม่สนิทกันมาก่อน ทำเอาวัยรุ่นบางคนอึดอัด ขาดสมาธิและไม่สบายใจเอามากๆ
คุณพ่อคุณแม่คงอยากรู้นะคะว่า จะช่วยลูกหลานวัยรุ่นในการปรับตัวกับชีวิตน้องใหม่ในมหาวิทยาลัยได้อย่างไร นะคะ ก็คงไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวอาจรวบรวมเป็นข้อหลักๆดังนี้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ควรให้การสนใจ ชวนคุย ถามไถ่ถึงบรรยากาศและสภาพการเรียน สังคมในมหาวิทยาลัย คุยกันวันละนิดหน่อย บ่อยๆเป็นกิจวัตร พร้อมๆกับสอดแทรกคำแนะนำไปบ้างบางครั้งบางคราวเมื่อมีโอกาส ไม่ควรบ่อยเกินไปจนวัยรุ่นเขาเบื่อว่า “สอนอยู่ได้ตลอดเวลา” นะคะ
คอยสังเกตท่าที ทัศนคติ หรือความรู้สึกของเขาว่าสภาพสังคมในสถาบัน ถ้าเขาจะเอ่ยปากถึงความไม่พอใจในสถาบันก็อย่ารีบไปตำหนิเขา (อันนี้สำคัญมาก เพราะถ้าตำหนิเขาสักครั้ง เขาก็จะไม่กล้าบอกเล่าระบายอะไรอีก และจะหมดศรัทธาในตัวคุณเอาง่ายๆ) แต่พยายามรับฟังให้เขาพูดระบายความคับข้องใจ และคอยพูดให้ความเห็นใจและให้กำลังใจ
สนใจถามไถ่ถึงผลการเรียนของ เขาบ้างนะคะ
ควรขอดูใบเกรดปีละ 2 ครั้ง กลางปีและปลายปีการศึกษา แสดงความชื่นชมภูมิใจในตัวเขา ถ้าผลการเรียนออกมาดี และเอ่ยปากเป็นห่วงเขาถ้าเห็นเขาพลาดบางวิชา ค่อยๆถามถึงสาเหตุที่เขาเรียนพลาดให้กำลังใจแก้ตัวโดยไม่ซ้ำเติม ถ้าหากผลการเรียนตกลงเรื่อยๆขาดเรียนบ่อยๆ นิสัยเปลี่ยนแปลงไปควรพาเขาไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัย หรือพบผู้เชี่ยวชาญเพราะเขาอาจมีปัญหาทางจิตใจที่ควรรีบแก้ไข
น่าเห็นใจคุณพ่อคุณแม่อยู่เหมือนกันนะคะ ว่าจะเอาใจใส่ดูแลแค่ไหน ให้ความรักเท่าไร จึงจะพอดีเป็นที่ถูกอกถูกใจวัยรุ่น ถ้ารักมาก เอาใจใส่มาก วัยรุ่นก็ว่าเซ้าซี้ จู้จี้ ถ้ารักน้อยหน่อย ดูแลห่างๆก็ถูกค่อนขอดว่าไม่รัก ไม่ใส่ใจ เป็นคุณพ่อคุณแม่ก็ทำเอาลำบากใจไม่ใช่เล่นนะคะ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรดี ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็แล้วกันจะได้มั่นใจและสบายใจนะคะ
ข้อสำคัญที่อยากจะเน้น คือ อย่าใช้กำลังกับลูกวัยรุ่นเลยนะคะ เพราะไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่จะสร้างความเกลียดชัง ความเจ็บช้ำน้ำใจที่ลูกวัยรุ่น จะไม่ค่อยยอมให้อภัยเลยนะคะ เคยเห็นวัยรุ่นโดยเฉพาะวัยรุ่นผู้หญิงหลายรายที่ควบคุมอารมณ์หงุดหงิด เกรี้ยวกราดไม่ได้เลยถูกคุณพ่อตบตีเอา แกเลยเกลียดคุณพ่อฝังใจไม่ยอมเข้าใกล้อีกเลย บางรายถึงกับเรียกคุณพ่อว่า “ปีศาจ” แถมกำชับว่า “ปีศาจ” อย่าให้เห็นหน้าเดี๋ยวอารมณ์เสีย ดูหนังสือไม่รู้เรื่อง” ทำเอาคุณพ่อน้อยใจและเสียใจมาก แต่ก็ต้องอดทนเตือนใจตนเองไม่ให้ถือสาเพราะว่าลูกป่วย คงต้องใช้น้ำเย็นเข้าลูบ
ดังนั้นถ้าสังเกตเห็นพฤติกรรม ความคิดและอารมณ์ของลูกวัยรุ่นผิดแปลกเปลี่ยนไปจากเดิม ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ก่อนที่จะสายเกินไป
โดย : รศ.พญ.ดวงใจ กสานติกุล
ข้อมูล : http://www.teenrama.com/dad_mam/old_dad_mam15.htm
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
นิสิตใหม่วัยรุ่น
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
 :: We are KMUTNB :: รวมลูกพระจอมเกล้าพระนครเหนือ-
ไปที่: